วัฏจักรชีวิตของกบ
วงจรชีวิตของกบการเจริญเติบโตของกบ เมื่อไข่กบมีการปฏิสนธิแล้ว จะฟักออกจากไข่เป็นลูกอ๊อดแล้วเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกบ ขั้นตอนการเจริญเติบโตของกบ คือ
1.ไข่กบ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีสีน้ำตาลปนเขียว เกาะกันเป็นแพลอยปริ่มน้ำ กลุ่มละประมาณ 50 - 150 ฟอง ถ้ามีอุณหภูมิพอเหมาะ ไข่กบที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน
2. ลูกอ๊อด มีลักษณะคล้ายลูกปลา หัวโต หางยาว และหายใจด้วยเหงือก
2. ลูกอ๊อด มีลักษณะคล้ายลูกปลา หัวโต หางยาว และหายใจด้วยเหงือก
3. กบ อาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอด มีขา 2 คู่ คือ ขาหน้า 1 คู่ ขาหลัง 1 คู่ เมื่อขาของกบงอกจนครบแล้ว หางก็จะหดหายไป
กบที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ตัวอย่างกบที่นิยมเลี้ยง เช่น
1. กบนา ( Rana tigerina Daudin) เป็นกบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม
2. กบบัว (Rana rugulosa Wiegmann) เป็นกบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม
3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer) เป็นกบพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้
4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show) เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้วกบเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้1) ช่วยกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช และกินปูนาซึ่งคอยทำลายต้นข้าวในนาข้าวให้เสียหาย2) เนื้อกบเป็นอาหารของคนได้ ส่วนหนังกบใช้ทำเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า รองเท้า และเครื่องดนตรีปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงกบเป็นอาชีพ เพื่อนำกบมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณกบในธรรมชาติอีกด้วย